สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 สถานที่ตั้ง
สถานที่ตั้ง
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ตั้งอยู่ถนนฮอด – แม่ตืน หมู่ 3 ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50260 โทรศัพท์ 053-469072 ต่อ 26 โทรสาร 053-469072 ต่อ 25
ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไป
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา เดิมเป็นสุขาภิบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2526 และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลท่าเดื่อ เป็นเทศบาลตำบลท่าเดื่อ ตามหนังสือรับรองการจัดตั้งเทศบาลตำบลท่าเดื่อ ที่ ชม 63201/243 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2548
ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง โดยรับพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อันได้แก่พื้นที่บางส่วนของบ้านแปลง 8 หมู่ที่ 2 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2554 และได้ขอเปลี่ยนชื่อเพื่อความเหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล จาก "เทศบาลตำบลท่าเดื่อ" เป็น "เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555
ต่อมาได้ขอปรับขนาดเทศบาลจากขนาดเล็กเป็นเทศบาลขนาดกลาง ตามหนังสือสำนักงานกระทรวงหาดไทย ที่ มท 0809.2/ว134 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 เรื่องการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การปรับขนาดเทศบาลขนาดกลาง โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดเชียงใหม่ ในการประชุม ครั้งที่ 6/2554 วันที่ 30 มิถุนายน 2554
พื้นที่
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอดอยเต่า มีพื้นที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,500 ไร่
อาณาเขต
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านวังหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านดงมะนะ หมู่ที่ 6 ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านสันติสุข หมู่ที่ 7 ตำบลดอยเต่า อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านวังหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ตราของเทศบาล
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีตราประจำเทศบาลเป็นรูปพระมหาบรมธาตุเจ้าดอยเกิ้ง ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุโบราณสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของอำเภอดอยเต่า เป็นปูชนียวัตถุโบราณสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในแคว้นลานนาไทยหรือเมืองยนในอดีตกาล เป็นสถานที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุและพระธาตุนลาฏเบื้องซ้าย (กระดูกหน้าผากด้านซ้าย) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก และพระนางจามเทวี ได้ขึ้นมานมัสการพระบรมธาตุดอยเกิ้งครั้งที่จะมาครองเมืองหริภุญชัย(ลำพูน) เมื่อ พ.ศ.1200
ในปี พ.ศ.2463-พ.ศ.2464 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จขึ้นมานมัสการพระบรมธาตุดอยเกิ้ง พร้อมกับนมัสการท่านครูบาศรีวิชัยในครานั้น ต่อมาก็ได้รกร้างไป
จนถึง พ.ศ.2529 ครูบาบุญศรี อภิปุณโณ ได้ธุดงค์ขึ้นมา และได้บูรณะสร้างเสนาสนะต่างๆ จนถึงปัจจุบัน วัดพระบรมธาตุเจ้าดอยเกิ้ง ตั้งอยู่บนดอยสูงในเขตเมืองฮอดเก่า (พิศดารนคร) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ตามถนนเชียงใหม่-ฮอด-วังลุง-ดอยเกิ้ง ทางขึ้นวัดเป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร ซึ่งทุกปีจะมีการจัดงานสืบสานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ โดยมีประชาชนและผู้มีจิตศรัทราจากที่ต่างๆ เดินทางมาทำบุญอย่างมากมาย
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นพื้นที่ราบและเนินสูงล้อมรอบด้วยภูเขาตั้งแต่ 260-350 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นที่ตั้งของแหล่งชุมชน และสถานที่ราชการต่างๆ มีเส้นทางน้ำไหลลำห้วยขนาดเล็กมากมาย ซึ่งเห็นได้โดยทั่วไป ทอดตัวจากเหนือลงใต้ แต่จะมีน้ำไหลให้เห็นเฉพาะฤดูฝนหรือเฉพาะช่วงที่มีน้ำมาก
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป ใกล้เคียงกับชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดความชุ่มชื้น ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน และได้รับอิทธิพลจากพายุใต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้ ทำให้มีฝนตกในเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม นอกจากนี้ ยังได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จากตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมิถุนายน
1.4 ลักษณะของดิน
สภาพดินทั่วไปเป็นดินปนทราย มีความสามารถในการอุ้มน้ำทำได้ไม่ดีนัก
1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำทั่วไปมีทั้งแหล่งน้ำที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง ที่อยู่ตามบริเวณหุบเขา และแหล่งน้ำที่ขุดสร้างขึ้นเพื่อใช้กักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคที่สำคัญ ประกอบด้วย
(1) อ่างเก็บน้ำทุ่งหญ้า บ้านแปลง 4
(2) สระห้วยแปลง 4
(3) สระห้วยเกี๋ยง
(4) สระห้วยสันลมจอย บ้านแปลง 4
(5) สระโครงการพระราชดำริ บ้านแปลง 5
1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้
พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีสภาพเป็นป่าทางทิศเหนือ มีการจับจองบุกรุกทำลายป่า ลักษณะป่าไม้ เป็นป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วย ไม้แดง ไม้มะค่าโมง ไม้เต็งรัง ไม้สัก ฯลฯ ประมาณ ร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมด
- ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน 2 ตำบล ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านแปลง 3 ตำบลท่าเดื่อ
หมู่ที่ 2 บ้านแปลง 8 ตำบลท่าเดื่อ
หมู่ที่ 3 บ้านแปลง 5 ตำบลท่าเดื่อ
หมู่ที่ 1 บ้านแปลง 2 ตำบลมืดกา
หมู่ที่ 2 บ้านแปลง 1 ตำบลมืดกา
หมู่ที่ 3 บ้านแปลง 4 ตำบลมืดกา
2.2 การเลือกตั้ง
แบ่งเขตการเลือกตั้ง ออกเป็น 2 เขตการเลือกตั้ง ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาล ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านแปลง 3 ตำบลท่าเดื่อ
หมู่ที่ 2 บ้านแปลง 8 ตำบลท่าเดื่อ
หมู่ที่ 3 บ้านแปลง 5 ตำบลท่าเดื่อ
หมู่ที่ 2 บ้านแปลง 1 ตำบลมืดกา (บางส่วน เฉพาะบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1103 ฮอด-แม่ตืน)
เขตเลือกตั้งที่ 2 ครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาล ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านแปลง 2 ตำบลมืดกา
หมู่ที่ 2 บ้านแปลง 1 ตำบลมืดกา (บางส่วน ยกเว้นบริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1103 ฮอด-แม่ตืน)
หมู่ที่ 3 บ้านแปลง 4 ตำบลมืดกา
บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมทางการเมือง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนภายในเขตเทศบาล ได้รับความร่วมมือในระดับที่ดีพอสมควรวัดได้จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและการทำประชาคมหมู่บ้านการดำเนินกิจกรรมชุมชน
สถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น
1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลครั้งที่ผ่านมา ปรากฏว่าประชาชนในเขตเทศบาลไปใช้สิทธิลงคะแนนทั้งสิ้น 2,739 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 3,482 คน คิดเป็นร้อยละ 78.66 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด
2. การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีครั้งที่ผ่านมา ปรากฏว่าประชาชนในเขตเทศบาลไปใช้สิทธิลงคะแนนทั้งสิ้น 2,743 จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 3,482 คน คิดเป็นร้อยละ 78.78 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด
- ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ตำบล/หมู่บ้าน |
ครัวเรือน (หลังคา) |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ตำบลท่าเดื่อ หมู่ที่ 0 ท่าเดื่อ หมู่ที่ 1 บ้านแปลง 3 หมู่ที่ 2 บ้านแปลง 8 หมู่ที่ 3 บ้านแปลง 5 |
1,019 1 210 238 570 |
952 0 229 292 428 |
1,016 3 233 297 483 |
1,968 6 462 589 911 |
ตำบลมืดกา หมู่ที่ 1 บ้านแปลง 2 หมู่ที่ 2 บ้านแปลง 1 หมู่ที่ 3 บ้านแปลง 4 |
851 270 321 260 |
1,130 378 435 317 |
1,182 386 461 335 |
2,312 764 896 652 |
รวม |
1,870 |
2,082 |
2,198 |
4,280 |
ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
รายการ |
ช่วงอายุ |
ชาย |
หญิง |
รวม |
จำนวนประชากรเยาวชน |
อายุต่ำกว่า 18 ปี |
371 |
359 |
730 |
จำนวนประชากร |
อายุ 18-59 ปี |
1,177 |
1,197 |
2,374 |
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ |
อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป |
534 |
642 |
1,176 |
รวม |
2,082 |
2,198 |
4,280 |
ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
- สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
การศึกษาในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา
(1) โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง คือ
1. โรงเรียนบ้านแปลง 2
2. โรงเรียนชุมชนศูนย์อพยพ บ้านแปลง 4
3. โรงเรียนบ้านแปลง 5
4. โรงเรียนชุมชนศูนย์อพยพ บ้านแปลง 8
(2) โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม
(3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา
ตารางแสดงข้อมูลทางการศึกษาของโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา
โรงเรียน |
ระดับ |
สังกัด |
นักเรียน (คน) |
ครู (คน) |
1. โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม 2. โรงเรียนบ้านแปลง 2 3. โรงเรียนชุมชนศูนย์อพยพ บ้านแปลง 4 4. โรงเรียนบ้านแปลง 5 5. โรงเรียนชุมชนศูนย์อพยพ บ้านแปลง 8 6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
มัธยมศึกษา ประถมศึกษา ประถมศึกษา
ประถมศึกษา ประถมศึกษา
ก่อนวัยเรียน |
สนง.พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 5 สนง.พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 5 สนง.พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 5
สนง.พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ ขต 5 สนง.พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ ขต 5
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา |
800 65 158
108 96
96 |
70 10 15
13 10
10 |
รวม |
1,323 |
128 |
4.2 สาธารณสุข
การให้บริการสาธารณในเขตพื้นที่ตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีสถานที่ให้บริการด้านสาธารณสุข ดังนี้
- โรงพยาบาลดอยเต่า (ขนาด 30 เตียง) จำนวน 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมืดกา จำนวน 1 แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอยเต่า จำนวน 1 แห่ง
- ร้านขายยา จำนวน 3 แห่ง
๔.๓ อาชญากรรม
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา นับเป็นเมืองที่มีความสงบเรียบร้อย เนื่องจากพื้นที่มีหน่วยงานให้บริการรักษาความปลอดภัย คือสถานีตำรวจภูธรดอยเต่า จากข้อมูลสถิติคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากสถานีตำรวจภูธรดอยเต่า พบว่า ในปี พ.ศ. 2558-2561 คดียาเสพติดมีอัตราการจับกุมค่อนข้างสูงกว่าคดีอื่นๆ
4.4 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาล จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรดอยเต่าได้แจ้งให้กับเทศบาลทราบนั้นพบว่าในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของเทศบาลที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
4.5 การสังคมสงเคราะห์
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้
(1) ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
(2) รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
(3) ประสานการทำบัตรผู้พิการ
(4) ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
(5) ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน
- ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
การคมนาคมและขนส่ง เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีเส้นทางคมนาคมที่สามารถติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดใกล้เคียง และติดต่อกับอำเภอต่างๆ ภายในจังหวัดเชียงใหม่ ได้โดยสะดวก โดยมีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ
- ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1103 (ถนนสายฮอด – ดอยเต่า-แม่ตืน) เป็นเส้นทางที่ใช้ติดต่อกับอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
การคมนาคม และขนส่ง ที่สามารถติดต่อกับอำเภอดอยเต่า และเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ได้สะดวก คือการคมนาคมทางรถยนต์ ซึ่งเป็นรูปแบบการคมนาคม และขนส่งที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในปัจจุบัน ทำให้ชุมชนเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา สามารถติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง อำเภอต่าง ๆ ภายในจังหวัดและภายในอำเภอ โดยมีรถยนต์โดยสาร ประจำทาง ให้บริการดังนี้
- รถยนต์โดยสารประจำทางสาย เชียงใหม่ – ฮอด – ดอยเต่า
- รถยนต์โดยสารประจำทางสาย จอมทอง – ฮอด – ดอยเต่า – กรุงเทพฯ
- รถยนต์โดยสารประจำทางสาย แม่ฮ่องสอน – ดอยเต่า - กรุงเทพฯ
- รถยนต์โดยสารสองแถวประจำทาง สายฮอด – ดอยเต่า
5.2 การไฟฟ้า
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอดอยเต่า ให้บริการในเขตเทศบาล 1,820 ครัวเรือน นอกเขตเทศบาลฯ 8,477 ครัวเรือน จำนวนกระแสไฟที่จ่ายทั้งหมดเฉลี่ยเดือนละ 1,258,570 กิโลวัตต์/ชั่วโมง จำนวนผู้ใช้ ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 200 ครัวเรือน ส่วนใหญ่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอาคารพาณิชย์ ร้อยละ 99 โรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ 0.50 สถานที่ราชการ ร้อยละ 0.50 การให้บริการไฟฟ้าครอบคลุมอาคารบ้านเรือนที่เกาะตามถนนในชุมชนแต่ยังไม่ครอบคลุมในพื้นที่เกษตรกรรม
5.3 การประปา
แหล่งที่มาของน้ำดิบคือแม่น้ำปิง กำลังผลิต 800 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง ผลิตวันละ 9 ชั่วโมง แหล่งน้ำในการอุปโภคและบริโภคของประชาชนในเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ในปี พ.ศ. 2558 มีจำนวนผู้ใช้น้ำประปา จำนวน 950 ครัวเรือน เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคเกษตร น้ำบาดาลมีคุณภาพต่ำ ปัจจุบันยังคงประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการในฤดูแล้ง ในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังทำได้แค่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
5.4 โทรศัพท์
สำนักงานบริการโทรศัพท์สาขาจอมทอง สามารถให้บริการโทรศัพท์ในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ทั้งชนิดติดตั้งประจำบ้าน และตู้โทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้าน
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา จำนวน 1 แห่ง
- สถานีวิทยุ – โทรทัศน์ เกือบทุกพื้นที่ในเขตเทศบาลไม่สามารถรับฟังเสียงจากคลื่นสถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ได้ชัดเจน และไม่สามารถรับสัญญาภาพโทรทัศน์ได้บางช่อง
- สถานีวิทยุชุมชน คลื่น 104 MH, 107 MH และสถานีวิทยุเพื่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร คลื่น 92 MH ในอำเภอดอยเต่า
- ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชากรในเขตเทศบาล ร้อยละ 70 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ลำไย ข้าว เลี้ยงสัตว์ ดังนี้
- อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 70 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 13 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 8 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
- อาชีพค้าขาย ร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
6.2 การประมง
- ประชาชนจะประกอบอาชีพประมง ประมาณร้อยละ 13 โดยจะทำประมงบริเวณทะเลสาบดอยเต่า และแม่น้ำปิง
6.3 การปศุสัตว์
- เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ
6.4 การบริการ
ที่พัก-รีสอร์ท 1 แห่ง
ร้านอาหาร 6 แห่ง
ท่ารถ 2 แห่ง
ร้านเกมส์ 3 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว
ในเขตเทศบาลไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่างๆ
6.6 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
ธนาคาร 2 แห่ง สถานีบริการน้ำมัน 3 แห่ง
ร้านค้าต่างๆ 42 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
ประกอบด้วยกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนลำไย เลี้ยงสัตว์ และกลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์
6.7 แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรที่มีอายุ 15 – 60 ปี อยู่ในกำลังแรงงาน ร้อยละ 95 เมื่อเทียบกับอัตราส่วนกับจังหวัด ร้อยละ 73.99 ซึ่งสูงกว่ามาก แต่ค่าแรงในพื้นที่ต่ำกว่าระดับจังหวัด โดยเฉพาะแรงงานด้านการเกษตร ประชากรอายุระหว่าง 25 – 50 ปี บางส่วน ไปรับจ้างทำงานนอกพื้นที่ รวมทั้งแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาที่พบคือ ประชากรต้องไปทำงานนอกพื้นที่ในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท ห้างร้านใหญ่ๆ เพราะในพื้นที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจ้างแรงงานเยอะ เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่อยู่อาศัย ปัญหานี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้
- ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
7.1 การนับถือศาสนา
- ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 93 วัด 5 แห่ง
- ผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 3
- ผู้ที่นับถืออื่น ร้อยละ 2
7.๒ ประเพณีและงานประจำปี
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม
- ประเพณีสงฆ์น้ำพระธาตุดอยเกิ้ง ประมาณเดือน กุมภาพันธ์
- ประเพณียี่เป็งรำลึก ประมาณเดือน เมษายน
- ประเพณีแห่ไม้ค้ำ ประมาณเดือน เมษายน
- ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน
- ประเพณียี่เป็งรำลึก ประมาณเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน
- ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม พฤศจิกายน
7.3 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
- ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลา
- ผ้าทอตีนจก
- ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 น้ำ ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำดิบจากแม่น้ำปิง ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา น้ำใต้ดิน
8.2 ป่าไม้ พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีสภาพเป็นป่าทางทิศเหนือ มีการจับจองบุกรุกทำลายป่า ลักษณะป่าไม้ เป็นป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วย ไม้แดง ไม้มะค่าโมง ไม้เต็งรัง ไม้สัก ไม้เหียง ฯลฯ ประมาณร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมด
8.3 ภูเขา มีภูเขาล้อมรอบ
8.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ มีแร่ที่สำรวจพบ เช่น ฟลูออไรท์ เพลสปาร์ และแมงกานีส แต่ยังไม่มีการนำมาใช้ ประโยชน์
- อื่นๆ
9.1 สภาพแวดล้อม
- คุณภาพแหล่งน้ำและอากาศในเขตเทศบาลถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเนื่องจากไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม หรือแหล่งผลิตที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อน้ำและอากาศ
- ปริมาณขยะที่เทศบาลรับผิดชอบในการจัดเก็บมีไม่มากนัก รวมทั้งไม่พบปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสียและมลภาวะเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร ส่วนปัญหาการทิ้งขยะและเศษเหล็ก บริเวณชุมชน ร้านค้า ร้านซ่อมรถ และการทิ้งขยะบริเวณทะเลสาบดอยเต่า รวมทั้งการทิ้งขยะของพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกับพื้นที่เขตเทศบาล เป็นสิ่งที่เทศบาลคาดว่าอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อเทศบาล ในการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการดูแลรักษาความสะอาดในอนาคต