สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติความเป็นมาและสภาพทั่วไป
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา เดิมเป็นสุขาภิบาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เวื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2526 และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลท่าเดื่อ เป็นเทศบาลตำบลท่าเดื่อ ตามหนังสิอรับรองการจัดตั้งเทศบาลตำบลท่าเดื่อ ที่ ชม 63201/243 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2548
ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเขตการปกครอง โดยรับพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อันได้แก่พื้นที่บางส่วนของบ้านแปลง 8 หมู่ 2 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2554 และได้ขอเปลี่ยนชื่อเพื่อความเหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาล จาก "เทศบาลตำบลท่าเดื่อ" เป็น "เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2555
ต่อมาได้ขอปรับขนาดเทศบาลจากขนาดเล็กเป็นเทศบาลขนาดกลาง ตามหนังสือสำนักงานกระทรวงหาดไทย ที่ มท 0809.2/ว134 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 เรื่องการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การปรับขนาดเทศบาลขนาดกลาง โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดเชียงใหม่ ในการประชุม ครั้งที่ 6/2554 วันที่ 30 มิถุนายน 2554
อาณาเขต
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านวังหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านดงมะนะ หมู่ที่ 6 ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านสันติสุข หมู่ที่ 7 ตำบลดอยเต่า อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านวังหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอดอยเต่า มีพื้นที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7,812 ไร่ มีเขตการปกครองรวม 6 หมู่บ้าน 2 ตำบล ประกอบด้วย
• ตำบลมืดกา รวม 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านแปลง 2 , หมู่ที่ 2 บ้านแปลง 1 , หมู่ที่ 3 บ้านแปลง 4 พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ
• ตำบลท่าเดื่อ รวม 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านแปลง 3 , หมู่ที่ 2 บ้านแปลง 8 พื้นที่บางส่วนอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ , หมู่ที่ 3 บ้านแปลง 5 พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ
ตราของเทศบาล
เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีตราประจำเทศบาลเป็นรูปพระมหาบรมธาตุเจ้าดอยเกิ้ง ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุโบราณสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ของอำเภอดอยเต่า เป็นปูชนียวัตถุโบราณสถานที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งในแคว้นลานนาไทยหรือเมืองยนในอดีตกาล เป็นสถานที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุและพระธาตุนลาฏเบื้องซ้าย (กระดูกหน้าผากด้านซ้าย) ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก และพระนางจามเทวี ได้ขึ้นมานมัสการพระบรมธาตุดอยเกิ้งครั้งที่จะมาครองเมืองหริภุญชัย(ลำพูน) เมื่อ พ.ศ.1200
ในปี พ.ศ.2463-พ.ศ.2464 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จขึ้นมานมัสการพระบรมธาตุดอยเกิ้ง พร้อมกับนมัสการท่านครูบาศรีวิชัยในครานั้น ต่อมาก็ได้รกร้างไป
จนถึง พ.ศ.2529 ครูบาบุญศรี อภิปุณโณ ได้ธุดงค์ขึ้นมา และได้บูรณะสร้างเสนาสนะต่างๆ จนถึงปัจจุบัน วัดพระบรมธาตุเจ้าดอยเกิ้ง ตั้งอยู่บนดอยสูงในเขตเมืองฮอดเก่า (พิศดารนคร) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ตามถนนเชียงใหม่-ฮอด-วังลุง-ดอยเกิ้ง ทางขึ้นวัดเป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร ซึ่งทุกปีจะมีการจัดงานสืบสานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ โดยมีประชาชนและผู้มีจิตศรัทราจากที่ต่างๆ เดินทางมาทำบุญอย่างมากมาย
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นพื้นที่ราบอยู่ติดกับเชิงเขา มีแหล่งน้ำที่สำคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำปิง ซึ่งถือเป็นแหล่งน้ำสำคัญ ที่หล่อเลี้ยงชุมชนในเขตเทศบาล ส่วนลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป ใกล้เคียงกับชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวัรตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดความชุ่มชื้น ประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จากตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมิถุนายน
สภาพเศษรฐกิจและสังคมโดยรวม
ลักษณะการประกอบอาชีพของประชาชนในเบขตเทศบาลส่วยใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพค้าขายสินค้าการเกษตร ผลิตภัณฑ์(ปลา)แปรรูป และสิ้นค้าอื่น ประมาณร้อยละ 15 และประกอบอาชีพอื่นๆ ประมาณร้อยละ 5 ส่วนลักษณะชุมชนในเขตเทศบาล จะมีการเกาะกลุ่มของอาคารบ้านเรือนหนาแน่น บริเวณบ้านแปลง 5 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเดื่อ ซึ่งบริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่างๆประจำอำเภอ และเป็นย่านการค้าขาย รวมทั้งขนส่งผลิตภัณฑ์เกษตร และสินค้าอื่นๆ ของประชาชนภายในเขตเทศบาล นากจากนั้นก็เป็นชุมชนเล็กๆ ห่างออกไป ประมาณ 1-2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านต่างๆ
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปการ
การคมนาคม
การคมนาคมและขนส่ง เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีเส้นทางคมนาคมที่สามารถติดต่อกับอำเภอฮอด จังหวัดใกล้เคียงและติดต่อกับอำเภอต่างๆ ภายในจังหวัดเชียงใหม่ ได้โดยสะดวก โดยมีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ
- ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1103 (ถนนสายบุญ-ดอยเต่า-แม่ตืน) เป็นเส้นทางที่ใช้ติดต่อกับอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
การคมนาคมและขนส่ง ที่สามารถติดต่อกับอำเภอดอยเต่า และเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ได้สะดวกคือการคมนาคมทางรถยนต์ ซึ่งเป็นรูปแบบการคมนาคมและขนส่งที่สำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในปัจจุบัน ทำให้ชุมชนเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา สามารถติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียง อำเภอต่างๆ ภายในจังหวัดและภายในอำเภอ โดยมีรถโดยสารประจำทางให้บริการดังนี้
1. รถยนต์โดยสารประจำสาย เชียงใหม่-ฮอด-ดอยเต่า
2. รถยนต์โดยสารประจำสาย จอมทอง-ฮอด-ดอยเต่า-กรุงเทพฯ
3. รถยนต์โดยสารประจำสาย แม่ฮ่องสอน-ดอยเต่า-กรุงเทพฯ
4. รถยนต์โดยสารสองแถวประจำทาง ฮอด-ดอยเต่า
ไฟฟ้าและพลังงาน
การให้บริการไฟฟ้าในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา และเขตอำเภอดอยเต่า ดำเนินการโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสถานีย่อยให้บริการอยู่ที่ตำบลมืดกา อำเภอดอยเต่า สามารถให้บริการกระแสไฟฟ้าได้ทั่วทั้งเขตเทศบาล ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 1,201 ครัวเรือน
การประปา
การให้บริการด้ารการประปาภายในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ดำเนินการโดยงานประปาเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตเทศบาล มีแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาในเขตเทศบาล แต่มีปัญหาการส่งจ่ายน้ำประปา เนื่องจากบางครั้งน้ำประปาไหลติดขัดและคลาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะฤดูร้อน มีจำนวนผู้ใช้น้ำ 653 ครัวเรือน รายได้จากค่าน้ำประปาเฉลี่ยน 39,300.- ต่อเดือน
การสื่อสารและโทรคมนาคม
1. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข มีสำนักงานตั้งอนู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อมืดกา จำนวน 1 แห่ง
2. สำนักงานบริการโทรศัพท์สาขาจอมทอง สามารถให้บริการโทรศัพท์ในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ทั้งชนิดติตตั้งประจำบ้าน และตู้โทรศัพท์สารธารณะประจำหมู่บ้าน
3. สถานีวิทยุ-โทรทัศน์ เกือบทุกพื้นที่ในเขตเทศบาลไม่สามารถฟังเสียงจากคลื่นสถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ได้ชัดเจน และไม่สามารถรับสัญญาณภาพโทรทัศน์ได้บางช่อง
4. สถานีวิทยุชุมชน คลื่น 104 MH ในอำเภอดอยเต่า
5. สถานีวิทยุชุมชน คลื่น 107 MH ในอำเภอดอยเต่า
6. สถานีวิทยุเพื่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร คลื่น 92 MH ในอำเภอดอยเต่า
ธนาคาร
ในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีธนาคาร 2 แห่ง คือ
1. ธนาคารออมสิน สาขาดอยเต่า
2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาดอยเต่า(ธกส.)
สถานที่ราชการ และหน่วยงานต่างๆ
จำนวนสถานที่ราชการในเขตเทศบาล มี 18 แห่ง ดังนี้
1. ที่ทำการปกครองอำเภอดอยเต่า
2. เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา
3. สำนักงานเกษตรอำเภอดอยเต่า
4. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอยเต่า
5. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอยเต่า
6. สำนักงานที่ดินอำเภอดอยยเต่า
7. สำนักงานสัสดีอำเภอดอยเต่า
8. สำนักงานสรรพกรพื้นที่สาขาดอยเต่า
9. ศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอดอยเต่า
10. โรงพยาบาลดอยเต่า
11. สถานีตำรวจภูธรดอยเต่า
12. สำนักงานป่าไม้
13. นิคมสร้างตนเองเขื่อนภูมิพลฯ จังหวัดเชียงใหม่
14. โรงเรียนบ้านแปลง 2
15. โรงเรียนชุมชนศูนย์อพยพบ้านแปลง 4
16. โรงเรียนบ้านแปลง 5
17. โรงเรียนศูนย์อพยพบ้านแปลง 8
18. โรงเรียนดอยเตาวิทยาคม
หน่วยงานธุรกิจ
• ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก 2 แห่ง
• ตลาดสด 1 แห่ง
ด้านเศษรฐกิจสังคม
การประกอบอาชีพ
การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาล ประกอบอาชีพเกษตรกรประมาณ 70% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ได้แก่การทำสวนผลไม้ ทำไร่ ทำสวนยางพารา เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่ราบลุ่มลักษณะของดินเหมาะแก่การเพาะปลูก อาชีพที่รองลงมาได้แก่ รับจ้าง การค้าขาย เป็นต้น
การศึกษา
การศึกษาในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา
1) มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง คือ
1. โรงเรียนบ้านแปลง 2
2. โรงเรียนชุมชนศูนย์อพยพบ้านแปลง 4
3. โรงเรียนบ้านแปลง 5
4. โรงเรียนชุมชนศูนย์อพยพบ้านแปลง 8
2) มีโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม
3) มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา
ตารางแสดงข้อมูลทางการศึกษาของโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา
ที่ | โรงเรียน | ระดับ | สังกัด |
นักเรียน |
ครูอาจารย์ |
1 |
โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม | มัธยมศึกษา | สนง.พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 | 718 | อาจารย์ 31 ครูจ้างสอน 3 |
2 | โรงเรียนบ้านแปลง 2 | ประถมศึกษา | สนง.พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 | 75 | ครู 3 ครูจ้างสอน 3 |
3 |
โรงเรียนชุมชนศูนย์อพยพบ้านแปลง 4 | ประถมศึกษา | สนง.พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 | 177 | ครู 7 ครูจ้างสอน 1 |
4 | โรงเรียนบ้านแปลง 5 | ประถมศึกษา | สนง.พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 | 120 | ครู 4 ครูจ้างสอน 3 |
5 | โรงเรียนชุมชนศูนย์อพยพบ้านแปลง 8 | ประถมศึกษา | สนง.พื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 | 95 | ครู 4 ครูจ้างสอน 3 |
6 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | ก่อนวัยเรียน | เทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา | 100 | ครู 3 ผู้ดูแลเด็ก 7 |
รวม | 1,285 | 72 |
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดอยู่ในเขตเทศบาล 5 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
จำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 93 ของประชากรทั้งหมด
จำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด
จำนวนผู้นับถือศาสนาอื่นๆ ร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมด
จำนวนสถาบันและองค์กรทางศาสนา มีอยู่ 5 แห่ง ได้แก่
1. วัดประถมการาม บ้านแปลง 1
2. วัดปัจฉิมการาม บ้านแปลง 2
3. วัดฉิมพลีวุฒราม บ้านแปลง 4
4. วัดบ้านแปลง 5
5. วัดบ้านชั่ง บ้านแปลง 8
ประเพณีศิลปวัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญภายในท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีประจำท้องถิ่นของเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา ได้แก่ ประเพณีลงแขก ประเพณีสงฆ์น้ำพระธาตุดอยเกิ้ง ประเพณียี่เป็งรำลึก ประเพณีแห่ไม้ค้ำ และประเพณีนิยมตามเทศกาลและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น เทศกาลสงกรานต์ ลอยกระทง เข้าพรรษา ออกพรรษา เป็นต้น
ประชากร
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีจำนวนประชากรทั้งหมด 4,309 คน ชาย 2,084 คน หญิง 2,225 คน จำนวนครัวเรือน 1,695 ครัวเรือน
ที่ | ตำบล | หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | รายชื่อผู้นำหมู่บ้าน | จำนวนประชากร | หลังคาเรือน | ||
ชาย | หญิง | รวม | ||||||
1 | ท่าเดื่อ | 1 | บ้านแปลง 3 | นายวัชรพงศ์ แดงบุญ (ผู้ใหญ่บ้าน) | 218 | 238 | 454 | 185 |
2 | ท่าเดื่อ | 2 | บ้านแปลง 8 | นายพินิตร สาระติ (กำนัน) | 280 | 272 | 552 | 223 |
3 | ท่าเดื่อ | 3 | บ้านแปลง 5 | นายประดิษฐ์ มายะ (ผู้ใหญ่บ้าน) | 413 | 493 | 906 | 495 |
4 | มืดกา | 1 | บ้านแปลง 2 | นายสมเกียรติ ชัยพรหม (ผู้ใหญ่บ้าน) | 399 | 406 | 805 | 252 |
5 | มืดกา | 2 | บ้านแปลง 1 | นายเสงี่ยม ใจรินทร์ (กำนัน) | 459 | 472 | 931 | 304 |
6 | มืดกา | 3 | บ้านแปลง 4 | นายสุเมธ ฉัตรชัยวิวัฒนา (ผู้ใหญ่บ้าน) | 315 | 346 | 661 | 236 |
รวม | 6 หมู่บ้าน | 2,084 | 2,225 | 4,309 | 1,695 |
บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมทางการเมือง
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนภายในเขตเทศบาล ได้รับความร่วมมือในระดับที่ดีพอสมควรวัดได้จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและการทำประชาคมหมู่บ้านการดำเนินกิจกรรมชุมชน
สถิติและข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น
1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลครั้งที่ผ่านมา ปรากฏว่าประชาชนในเขตเทศบาลไปใช้สิทธิลงคะแนนทั้งสิ้น 2,680 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 3,427 คน คิดเป็นร้อยละ 78.07 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด
2. การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีครั้งที่ผ่านมา ปรากฏว่าประชาชนในเขตเทศบาลไปใช้สิทธิลงคะแนนทั้งสิ้น 2,681 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 3,434 คน คิดเป็นร้อยละ 78.07 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งน้ำ ที่สำคัญ ประกอบด้วย
1. อ่างเก็บน้ำทุ่งหญ้า บ้านแปลง 4
2. สระห้วยข่วงงา
3. สระห้วยแปลง 4
4. สระห้วยเกี๋ยง
5. สระห้วยสันลอมจอย บ้านแปลง 4
6. สระโครงการพระราชดำริ
7. อ่างเก็บน้ำ บ้านแปลง 2
ทรัพยากรป่าไม้
พื้นที่ในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีสภาพป่าบางพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตนิคมสร้างตนเองเขื่อภูมิพลฯ จึงจับจองบุกรุกทำลายป่า ลักษณะป่าไม้เป็นป่าเบญจพรรณ ประกอบด้วย ไม้แดง ไม้มะค่าโมง ไม้เต็งรัง ไม้สัก ไม้เหียง ฯลฯ ประมาณร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมด
ทรัพยากรธรณี (ปริมาณ/ชนิดแร่ธาตุ)
ในเขตเทศบาลตำบลท่าเดื่อ-มืดกา มีแร่ที่สำรวจพบ เช่น ฟลูออไรท์ เพลสปาร์ และแมงกานีส แต่ยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์
สภาพแวดล้อม
- คุณภาพแหล่งน้ำและอากาศในเขตเทศบาลถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเนื่องจากไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งผลิตที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อน้ำและอากาศ
- ปริมาณขยะที่เทศบาลรับผิดชอบในการจัดเก็บมีไม่มากนัก รวมทั้งไม่พบปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสียและมลภาวะเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร ส่วนปัญหาการทิ้งขยะและเศษเหล็ก บริเวณชุมชน ร้านค้า ร้านซ่อมรถ และการทิ้งขยะบริเวณทะเลสาบดอยเต่า รวมทั้งการทิ้งขยะของพื้นที่เขตติดต่อกับพื้นที่เขตเทศบาล เป็นสิ่งที่เทศบาลคาดว่าอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อเทศบาล ในการแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการดูแลรักษาความสะอาดในอนาคต